ภาคผนวก ค
ตัวอย่างการจัดการคุณภาพสถิติของประเทศแคนาดา ออสเตรเลีย และเกาหลี
- สำนักงานสถิติแคนาดา (Statistics Canada)
- สำนักงานสถิติออสเตรเลีย (Australian Bureau of Statistics: ABS)
- สำนักงานสถิติเกาหลี (Statistics Korea: KOSTAT)
สำนักงานสถิติแคนาดา (Statistics Canada)
สำนักงานสถิติแคนาดาได้ให้คำนิยามของคุณภาพข้อมูลสถิติไว้ว่า “เหมาะสมกับการนำไปใช้ (Fitness for Use)” โดยหลักพื้นฐานของการจัดการคุณภาพข้อมูลสถิติของประเทศแคนาดา เป็นแนวคิด ปรัชญา หรือกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับใช้เป็นแนวทางปฏิบัติขององค์กร โดยพัฒนาจากหลักการจัดการคุณภาพของ ISO 9000 ปรับมาจากหลักการจัดการคุณภาพแบบองค์รวม (Total Quality Management: TQM) กล่าวคือ ดำเนินการเพื่อวัตถุประสงค์ด้านคุณภาพตามที่สามารถแสดงในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
แนวทางและกรอบการจัดการคุณภาพของหน่วยงานสถิติ
สำนักงานสถิติแคนาดามีเป้าหมายว่า ข้อมูลที่ผลิตได้ต้องสะท้อนให้เห็นสภาพเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อมของแคนาดาที่สม่ำเสมอและสามารถรวม/วิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลอื่นได้ (Coherence) และข้อมูลต่าง ๆ สามารถนำมาวิเคราะห์ร่วมกันและร่วมกับข้อมูลอื่นจากแหล่งต่าง ๆ ในการบรรลุวัตถุประสงค์นี้ หน่วยงานต้องดำเนินการตามกรอบการประกันฯ ใช้ชื่อและนิยามศัพท์ต่าง ๆ หน่วยสถิติ แนวคิด ตัวแปรและการจัดจำแนกแประเภทในแผนงานสถิติให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ตลอดจนการใช้วิธีการเก็บและประมวลผลข้อมูลสำหรับการผลิตข้อมูลสถิติในงานสำรวจที่สอดคล้องกัน
ผู้บริหารของสำนักงานสถิติแคนาดาได้อธิบายถึงแนวทางการจัดการคุณภาพสถิติว่า การออกแบบและการพัฒนาระบบการจัดการคุณภาพจะปฏิบัติตามหลักของ ISO 9001 และได้พิจารณาความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ วัตถุประสงค์ ผลิตผลข้อมูลสถิติ กระบวนการ รวมทั้งขนาดและโครงสร้างของหน่วยงาน โดยแนวทางฯ จะต้องสอดคล้องกับกรอบการประเมินคุณภาพ และแนวทางคุณภาพที่จัดทำขึ้นมีความสอดคล้องกับหลักปฏิบัติพื้นฐานและแนวทางของสหประชาชาติ ตลอดจน Eurostat
สถิติแคนาดาได้วางแนวทางการจัดการคุณภาพไว้โดยอธิบายไว้ในกรอบการประกันคุณภาพ (Quality Assurance Framework: QAF) ซึ่งองค์ประกอบต่าง ๆ ของกรอบการจัดการคุณภาพนั้น สามารถนำมาจัดทำเป็นแนวทางในการจัดการคุณภาพสถิติตามกรอบการจัดการคุณภาพที่สามารถเชื่อมโยงไปยังกระบวนการในแต่ละขั้นตอนของการผลิตสถิติได้ โดยแยกเป็นแต่ละมิติได้ดังนี้
ตาราง ค1 กรอบการประกันคุณภาพสถิติแคนาดา
สำนักงานสถิติออสเตรเลีย (Australian Bureau of Statistics: ABS)
ตาราง ค2 กรอบการประกันคุณภาพสถิติออสเตรเลีย
การประเมินคุณภาพนั้นจะคำนึงถึงทุกมิติ เนื่องจากแต่ละมิติมีความเกี่ยวเนื่องกันไม่สามารถแยกขาดจากกันได้ แต่สามารถพิจารณาให้ความสำคัญแต่ละมิติไม่เท่ากันขึ้นกับแหล่งข้อมูลและเนื้อข้อมูลเป็นหลัก
สำนักงานสถิติเกาหลี (Statistics Korea: KOSTAT)
สำนักงานสถิติเกาหลีได้ให้คำนิยามของคุณภาพข้อมูลสถิติไว้ว่า “ข้อมูลที่ทำให้ผู้ใช้ข้อมูลสามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง และเป็นข้อมูลที่จัดทำขึ้นเพื่อสนองตอบได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการจัดทำข้อมูล พร้อมกับมีความแม่นยำเท่าที่จำเป็น มีพร้อมให้บริการเมื่อต้องการ และผู้ที่ต้องการใช้สามารถเข้าถึงได้”
KOSTAT ได้พัฒนาด้านการจัดการคุณภาพสถิติตั้งแต่ปี 1999 ซึ่งเป็นผลจากความต้องการข้อมูลสถิติที่มีคุณภาพสูง มีความน่าเชื่อถือ และสามารถช่วยในการตัดสินใจที่ถูกต้องแม่นยำได้ ภายหลังที่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินขึ้นในเอเซียที่กระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั่วโลกในปี 1997
เมื่อตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็น KOSTAT ได้เริ่มโครงการ โดยมอบหมายให้ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติกรุงโซล (Seoul National University) มาช่วยศึกษาจัดทำและวางแนวทางการประเมินคุณภาพข้อมูลสถิติ โดยได้นำพื้นฐานและแนวทางจากการประเมินคุณภาพของประเทศแคนาดา และแนวทางของ International Organizationof Standardization (ISO) มาประยุกต์ โดยมีการคำนึงถึงการเตรียมปัจจัยสนับสนุนที่จำเป็นและเกี่ยวข้องไม่ว่าเป็นด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ และโครงสร้างองค์กรของตนเองรวมถึงการออกแบบกฎบัญญัติสำหรับสถิติ 2007 ที่กำหนดภารกิจหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐที่จัดทำสถิติมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการประเมินหรือได้รับการประเมิน
แนวทางและกรอบการจัดการคุณภาพของหน่วยงานสถิติ
KOSTAT มีแผนกควบคุมคุณภาพซึ่งจัดเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำและขับเคลื่อนแผนในการจัดการคุณภาพสถิติ การดำเนินการโครงการประเมินคุณภาพ รวมทั้งการจัดทำและเผยแพร่คู่มือสำหรับการจัดการคุณภาพ และส่งเสริมและอบรมคุณภาพสถิติ
หน่วยงานสถิติจะได้รับคำแนะนำให้ปฏิบัติตามมาตรฐานและการจัดจำแนกประเภทที่จัดทำโดย KOSTAT ซึ่งมีทั้งมาตรฐานสำหรับการสำรวจ การให้คำนิยามศัพท์ทางสถิติ และการจำแนกประเภทต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรม การพาณิชย์ อาชีพ โรคภัย ฯลฯ
KOSTAT มีนโยบายที่จะมุ่งเน้นความสำคัญของการรักษาคุณภาพข้อมูลสถิติโดยการวางแผนสำหรับการจัดการคุณภาพและการนำแผนไปปฏิบัติ และจัดทำแนวทางการจัดการคุณภาพข้อมูลสถิติก่อนที่จะเผยแพร่ รวมทั้งจัดทำโครงการประเมินคุณภาพข้อมูลสถิติ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์และจัดอบรมด้านคุณภาพ และเชื่อมั่นว่าระบบการจัดการคุณภาพข้อมูลสถิติจะนำไปสู่การพัฒนาสถิติอย่างต่อเนื่องได้
ข้อมูลสถิติที่นำมาประเมินคุณภาพสถิตินั้น ประเมินตามวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลจากการสำรวจ (Survey) ข้อมูลจากการบริหารงานและทะเบียน (Administration) และ ข้อมูลทุติยภูมิ (Processed) หรือข้อมูลปฐมภูมิที่ผ่านขบวนการต่าง ๆ เช่น GDP เป็นต้น ซึ่งแต่ละประเภทมีคู่มือสำหรับการประเมินคุณภาพแยกแต่ละเล่ม รวมทั้งได้กำหนดมิติคุณภาพจำนวน 6 มิติ ได้แก่
ตาราง ค3 กรอบการประกันคุณภาพสถิติเกาหลี