กลไกและกระบวนการจัดทำมาตรฐานสถิติ
ในการขับเคลื่อนแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบกลไกการขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2553 โดยแต่งตั้งคณะกรรมการ 2 ชุดหลัก ได้แก่
ภาพ 16 กลไกการขับเคลื่อนแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย
กลไกการจัดทำมาตรฐานสถิติ
|
1. คณะรัฐมนตรี เป็นผู้พิจารณามาตรฐานสถิติ รวมถึงแนวทาง วิธีการและเครื่องมือในการจัดการคุณภาพสถิติทางการที่เสนอโดยคณะกรรมการจัดระบบสถิติประเทศไทย 3 ด้าน เพื่อให้ความเห็นชอบตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2550 |
|
2. คณะกรรมการจัดระบบสถิติประเทศไทย 3 ด้าน เป็นผู้พิจารณาร่างมาตรฐานสถิติ รวมถึงแนวทาง วิธีการและเครื่องมือในการจัดการคุณภาพสถิติทางการที่ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสถิติเพื่อให้ความเห็นชอบและเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป และมีอำนาจในการปรับเปลี่ยนองค์คณะและหน้าที่ของอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสถิติ
|
|
3. คณะกรรมการที่ปรึกษาวิชาการ เป็นองค์คณะทางวิชาการสถิติที่คณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสถิติสามารถส่งร่างมาตรฐานสถิติ รวมถึงแนวทาง วิธีการและเครื่องมือในการจัดการคุณภาพสถิติทางการให้พิจารณาเพื่อขอรับข้อเสนอแนะและความคิดเห็นในเชิงวิชาการ และนำความเห็นดังกล่าวมาปรับปรุงให้เหมาะสมต่อไป
|
|
4. คณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสถิติ ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการจัดระบบสถิติประเทศไทย 3 ด้าน มีผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นประธาน มีผู้ทรงคุณวุฒิด้านสถิติเป็นที่ปรึกษาอนุกรรมการ และมีอนุกรรมการที่ประกอบด้วย นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านสถิติ ด้านมาตรฐานสถิติ และด้านคุณภาพสถิติ รวมถึงนักวิจัย ผู้ผลิต และผู้ใช้สถิติทางการ มีหน้าที่สำคัญคือ - กำหนดนโยบายด้านการบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานสถิติ
- พิจารณามาตรฐานสถิติที่สำคัญในการบูรณาการสถิติทางการ
- พิจารณาแนวทาง วิธีการ และเครื่องมือในการจัดการคุณภาพสถิติ
- ให้ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพสถิติทางการและมาตรฐานสถิติ
- รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการจัดระบบสถิติประเทศไทย 3 ด้าน
|
|
5. คณะอนุกรรมการสถิติรายสาขา 21 สาขา รวมถึงหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ระบุความต้องการในการพัฒนามาตรฐานสถิติในเรื่องต่างๆ ผ่านการประชุมคณะอนุกรรมการสถิติรายสาขา 21 สาขาหรือแผนพัฒนาสถิติรายสาขา รวมถึงเป็นผู้พิจารณามาตรฐานสถิติเฉพาะเรื่องในแต่ละสาขา เช่น มาตรฐานสถิติเกี่ยวกับความพิการพิจารณาโดยคณะอนุกรรมการสถิติสาขาสาธารณสุข มาตรฐานสถิติเกี่ยวกับอาชญากรรมพิจารณาโดยคณะอนุกรรมการสถิติสาขายุติธรรม ความมั่นคง การเมือง และการปกครอง
|
|
6. หน่วยงานเจ้าภาพ คือ หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายหรือได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำและปรับปรุงมาตรฐานสถิติ หากมาตรฐานสถิติใดไม่มีหน่วยงานเจ้าภาพ สำนักงานสถิติแห่งชาติต้องทำหน้าที่เป็นหน่วยงานเจ้าภาพในมาตรฐานดังกล่าว |
|
7. สำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นหน่วยงานกลางด้านมาตรฐานสถิติและเป็นฝ่ายเลขานุการในคณะอนุกรรมพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสถิติ ทำหน้าที่ประสานกับหน่วยงานเจ้าภาพเพื่อขอให้มาตรฐานที่หน่วยงานจัดทำนำมาประกาศเป็น 1 ในมาตรฐานในการผลิตสถิติของประเทศ พร้อมทั้งประสานการจัดทำร่างมาตรฐานสถิติและปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสถิติ เพื่อนำเสนอมาตรฐานสถิติให้คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการจัดระบบสถิติประเทศไทย 3 ด้าน รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการเผยแพร่และใช้มาตรฐานสถิติในการผลิตสถิติทางการ
|
|
8. หน่วยงานประกาศใช้/เผยแพร่มาตรฐานสถิติ เป็นหน่วยงานที่อำนาจหน้าที่ทางกฎหมายหรือมีช่องทางการเผยแพร่มาตรฐานของประเทศ เช่น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมผ่านการประกาศในราชกิจจานุเบกษา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ผ่านบริการจดทะเบียนหมายเลข OID (Object Identifier Registration Service) หรือผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานสถิติแห่งชาติและหน่วยงานเจ้าภาพ เป็นต้น เพื่อเป็นช่องทางในการเผยแพร่องค์ความรู้และสนับสนุนให้เกิดการส่งเสริมการใช้มาตรฐานสถิติอย่างกว้างขวาง |
กระบวนการจัดทำมาตรฐานสถิติ