หลักการพื้นฐานสถิติทางการ
คณะกรรมาธิการสถิติแห่งสหประชาชาติได้ให้การรับรองหลักการพื้นฐานสถิติทางการ (The Fundamental Principles of Official Statistics: FPOS) ที่ประกาศเมื่อปี ค.ศ. 2013 โดยการพัฒนานั้น คณะกรรมาธิการฯ ได้ยึดแนวทางการจัดการของ Total Quality Management (TQM) เป็นหลัก และมีวัตถุประสงค์ในการจัดทำเพื่อเป็นหลักพื้นฐานของระบบการบริหารจัดการคุณภาพในระดับสากล และนานาชาติให้การยอมรับและวางแนวทางการจัดการคุณภาพสถิติของประเทศหรือองค์กรของตนให้มีความสอดคล้องกับหลักการทั้ง 10 ประการ
หลักการพื้นฐานสถิติทางการ จึงเปรียบเสมือนกรอบแนวทางการดำเนินงานในเชิงนโยบายเพื่อให้ได้สถิติทางการที่ดีมีคุณภาพ เชื่อถือได้ เป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้ทั้งภายในและระหว่างประเทศ เป็นหลักการที่ให้แต่ละประเทศนำไปปฏิบัติ และเน้นให้ 4 กลุ่มผู้ใช้นำไปใช้ในการดำเนินงาน ซึ่งได้แก่
1. นักสถิติ หลักการพื้นฐานสถิติทางการ ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติสำหรับนักสถิติที่ต้องมีความเป็นมืออาชีพและมีความเป็นกลาง รวมถึงมีหลักวิชาการและมาตรฐานคุณภาพ
2. ผู้ให้ข้อมูล หลักการพื้นฐานสถิติทางการ ได้ให้ความมั่นใจว่าข้อมูลจะต้องมีการจัดเก็ลและการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในทางสถิติไม่ใช่เพื่อการพาณิชย์ และต้องแน่ใจในว่าข้อมูลถูกรักษาเป็นความลับอย่างเคร่งครัด
3. ผู้ใช้ข้อมูลสถิติ หลักการพื้นฐานสถิติทางการ ได้วางกรอบการดำเนินงานให้มีความโปร่งใส่ทั้งในแง่ของคุณภาพ ความสอดคล้องต่อความต้องการ การนำไปใช้ และผู้ผลิตสถิติทางการที่ต้องรักษาความเชื่อมั่นต่อผู้ใช้ข้อมูล
4. ผู้บริหารหรือผู้ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ หลักการพื้นฐานสถิติทางการ ได้กำหนดบทบาทของสถิติทางการที่ต้องเป็นข้อมูลที่มีความเป็นกลางเพื่อใช้ในการตัดสินใจในกระบวนการทางสังคมโดยภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน
หลักพื้นฐานสถิติทางการ 10 ประการของสหประชาชาติ ประกอบด้วย










ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 คณะกรรมาธิการสถิติแห่งสหประชาชาติ ได้มีการจัดตั้ง Friends of the Chair group ให้ทำหน้าที่ทบทวนและปรับปรุงภาษาที่ใช้ในคำนำของหลักการพื้นฐานสถิติทางการให้เข้ากับการพัฒนาโลกยุคใหม่ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของหน่วยสถิติในการผลิตสถิติทางการโดยการจัดทำแนวทางการปฏิบัติให้สอดคล้องและเป็นไปตามหลักการพื้นฐานสถิติทางการอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งตัวอย่างแนวทางการปฏิบัติที่ดี (United Nations Fundamental Principles of Official Statistics: Implementation Guidelines) ซึ่งคณะกรรมาธิการสถิติแห่งสหประชาชาติได้ให้การในปี พ.ศ. 2557 เพื่อให้หน่วยสถิติ ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อการผลิตสถิติทางการที่มีประสิทธิภาพ โดยแบ่งระดับความเข้มข้นของการดำเนินงานตามหลักการพื้นฐานสถิติทางการออกเป็น 3 ระดับ คือ
