ด้วยพัฒนาการของความคิดการระดมทุนเพื่อการพัฒนาที่ได้กล่าวมาแล้ว วาระปฏิบัติการแอดดิส อาบาบา (AAAA) จึงมีความพิเศษที่แตกต่างในเรื่องการระดมทุนเพื่อการพัฒนาจากรูปแบบเดิมที่เน้นการให้ประเทศร่ำรวยและองค์กรระหว่างประเทศช่วยเหลือประเทศยากจนและกำลังพัฒนาในรูปแบบต่างๆ ทั้งการให้เงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (Official Development Assistance – ODA) การให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค มาเป็นการกระตุ้นให้ภาคเอกชน และประเทศกำลังพัฒนาทำการช่วยเหลือตนเอง
ตัวอย่างสำคัญที่สามารถเปรียบเทียบ แนวทางการดำเนินงานในลักษณะที่ใกล้เคียงกันและเกิดเป็นรูปธรรม คือ แนวคิดวิธีดำเนินงาน (Means of Implementation: MOI) ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งยังคงให้ความสำคัญเพียงการระดมทรัพยากรทางการเงินเพื่อใช้ในการพัฒนาเท่านั้น แต่วิธีการดำเนินงาน (MOI) ภายใต้แผนปฏิบัติการแอดดิส อาบาบา ได้ให้ความสำคัญในเรื่องการระดมทุนในหลากหลายมิติ ซึ่งรวมถึงการจัดการทรัพยากรที่มิได้จำกัดอยู่เพียงทางการเงิน แต่ยังรวมถึงมิติอื่น ประกอบด้วย |
|
- การเพิ่มศักยภาพของประเทศกำลังพัฒนาในการจัดหารายได้ทางการคลัง
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ข้อมูลและข่าวสาร
- กฎหมายและนโยบายที่เอื้อต่อการระดมทุน
- ธรรมาภิบาล ความโปร่งใส
- นิติธรรม
- การค้าระหว่างประเทศ
- การต่อต้านคอร์รัปชัน
- เพิ่มความเข้มแข็งของกระบวนการตรวจสอบ (auditing)
- ความร่วมมือระหว่างประเทศ
ดังนั้น “ทุน” ที่จะมีการร่วมมือกันระดมหรือจัดหาในที่นี้ หมายถึง เงินทุนที่ได้จากการช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ งบประมาณหรือทุนที่ได้รับจากภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่จะมีการแลกเปลี่ยนหรือถ่ายทอดระหว่างประเทศ ภายใต้กลไกการปฏิบัติงานที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ นโยบายของภาครัฐด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ช่วยสนับสนุนและส่งเสริมสภาพแวดล้อมการไหลเวียนของทุนทั้งในและระหว่างประเทศ และการดำเนินงานอย่างมีธรรมาภิบาล เพื่อให้มีทุนที่เพียงพอต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกด้าน
การระดมทุนเพื่อการพัฒนา (Financing for Development : FfD) - บทนำ
การระดมทุนเพื่อการพัฒนาคืออะไร?
ที่มาของการระดมทุนเพื่อการพัฒนา
การระดมทุนเพื่อการพัฒนา VS เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
หากต้องการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ย่อมต้องมี “ทุน” มาสนับสนุน
7 สาขาปฏิบัติการของวาระปฏิบัติการแอดดิส อาบาบา (AAAA)
การติดตามและวัดผลการดำเนินการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพ