แนวคิดการจัดทำกรอบการระดมทุนเพื่อการพัฒนามีขึ้นตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2545 จากการประชุมผู้นำโลก ฉันทานุมัติมอนเตร์เรย์ (Monterrey Consensus) ที่เมืองมอนเตร์เรย์ ประเทศเม็กซิโก ซึ่งผลการประชุมในครั้งนั้น ครอบคลุมหลากหลายประเด็นที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรทางการเงินภายใต้ฉันทามติมอนเตอร์เรย์ หนึ่งในนั้นคือข้อตกลงพันธกิจของประเทศร่ำรวยในการจัดสรรเงินช่วยเหลือแก่ประเทศยากจน เป็นจำนวนร้อยละ 0.7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) อย่างไรก็ตาม มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่สามารถบรรลุตามข้อตกลงดังกล่าวได้ ยิ่งไปกว่านั้นประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกายังมีความต้องการลดวงเงินช่วยเหลือและทำการโต้แย้งและขัดขวางการกำหนดวงเงินชัดเจนสำหรับการช่วยเหลือเพื่อการพัฒนามาโดยตลอด
|
|
|
ภายหลังการประชุมที่เมืองมอนเตร์เรย์เป็นเวลา 6 ปี การประชุมที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรทรัพยากรทางการเงินคือ ปฏิญญาโดอา (Doha Declaration) ได้ถูกจัดขึ้นอีกครั้งที่เมืองโดฮา ประเทศการ์ตา ในปี พ.ศ.2551 โดยกลุ่มประเทศร่ำรวยยังคงประกาศยึดมั่นในคำสัญญาตามฉันทามติมอนเตร์เรย์ ถึงแม้การประชุมครั้งดังกล่าวจะเกิดขึ้นท่ามกลางภาวะความผันผวนของเศรษฐกิจโลกจากวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ |
จนกระทั่งเกิดการประชุมครั้งสำคัญที่นำมาสู่การจัดตั้งกรอบการระดมทุนเพื่อการพัฒนา คือ การประชุมระหว่างประเทศครั้งที่ 3 ว่าด้วยการระดมทุนเพื่อการพัฒนา (Third International Conference on Financing for Development: 3rd. FfD International Conference) ได้ถูกจัดขึ้นโดยมีคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม |
|
การประชุม 3rd Ffd มีขึ้นสืบเนื่องมาจากข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติ ที่ 68/279 ซึ่งระบุให้สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระหว่างประเทศครั้งที่ 3 ว่าด้วยการระดมทุนเพื่อการพัฒนา ณ กรุงแอดดิสอาบาบา ระหว่างวันที่ 13 – 16 ก.ค. 2558 เพื่อติดตามความคืบหน้าของการดำเนินการตามผลลัพธ์จากการประชุม FfD ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2545 ณ เมืองมอนเทอร์เรย์ เม็กซิโก และครั้งที่ 2 เมื่อปี 2551 ณ กรุงโดฮา กาตาร์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างข้อกำหนดที่เป็นรูปธรรมในการจัดหาและการใช้เงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ ตามพันธกรณีในเวทีระหว่างประเทศที่มีอยู่ คือ เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) นอกจากนี้ ยังหารือปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นใหม่ รวมถึงการระดมทุนเพื่อการตอบสนองต่อวาระการพัฒนาภายหลัง ค.ศ. 2015 (Post – 2015 Development Agenda) |
|
โดยที่ประชุมฯ มีรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ คือ วาระปฏิบัติการแอดดิส อาบาบาของการประชุมระหว่างประเทศ ครั้งที่ 3 ว่าด้วยการระดมทุนเพื่อการพัฒนา โดยกระทรวงการต่างประเทศได้รายงานผลการประชุมให้คณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบผลการประชุมเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2558 โดยคณะรัฐมนตรีได้มอบหมายหน่วยงานต่างๆ ที่มีภารกิจเกี่ยวข้องดำเนินการตามตารางติดตามผลการประชุม (ภาคผนวก ก) ซึ่งมีประเด็นเรื่องการกำหนดแนวทางการติดตามและการวัดผลการดำเนินการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพที่ระบุให้สำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการ |
|
วาระปฏิบัติการแอดดิส อาบาบา (AAAA) มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการระดมทุนเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเป็นเพียงเอกสารที่ประกาศเจตนารมณ์ทางการเมืองและเกี่ยวพันทางด้านนโยบาย มิได้มีบริบทที่เป็นการแสดงเจตนาที่จะก่อให้เกิดพันธกรณีระหว่างกันในลักษณะที่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ ข้อตกลงฯ จึงไม่ใช่สนธิสัญญาภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557
นอกจากนี้ ยังได้แนะนำกรอบนโยบายและกฎระเบียบภาครัฐที่ระบุถึงการกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนเพื่อสนับสนุน SDGs โดยเน้นย้ำการลงทุนระยะยาว และความจำเป็นในการทำให้การเงินและการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นไปในแนวเดียวกัน การสร้างการเงินภาครัฐที่มีศักยภาพ มุ่งเน้นบทบาทของธนาคารเพื่อการพัฒนาระดับชาติ ระหว่างประเทศ และระดับสากล และเน้นย้ำการพัฒนา การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการสร้างสมรรถนะเป็นกุญแจสำคัญในการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030
ดังนั้น ในหลักการประเทศไทยจึงควรมีส่วนร่วมในการรับรองเอกสารดังกล่าวอย่างสร้างสรรค์ นอกจากนี้ เวทีดังกล่าว ยังมีความสำคัญต่อประเทศกำลังพัฒนา ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries: LDCs) ประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล (Landlocked Developed Countries: LLDCs) และประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก (Small Island Developing States: SIDs) ที่มีความต้องการความช่วยเหลือในการระดมทรัพยากร เงินทุน ความรู้ความเชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการพัฒนาภายในประเทศของตนเองและเพื่อบรรลุ MDGs ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของไทยในการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการแก่ประเทศที่ร้องขอ อันเป็นโอกาสในการแสดงบทบาทในฐานะผู้ให้ใหม่ของไทย (emerging donor) ในเวทีโลกด้วย
การระดมทุนเพื่อการพัฒนา (Financing for Development : FfD) - บทนำ
การระดมทุนเพื่อการพัฒนาคืออะไร?
การระดมทุนเพื่อการพัฒนา VS เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
หากต้องการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ย่อมต้องมี “ทุน” มาสนับสนุน
“ทุน” หมายถึง?
7 สาขาปฏิบัติการของวาระปฏิบัติการแอดดิส อาบาบา (AAAA)
การติดตามและวัดผลการดำเนินการระดมทุนที่มีประสิทธิภาพ